ร่วมอนุรักษ์สายน้ำ สานต่อ “คลีนคลอง” ปีที่ 10
รวมพลังพันธมิตร จิตอาสา ส่งเสริมการบริหาร
จัดการขยะ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ทำเพื่อสังคมและปลูกจิตสำนึกคนในชุมชนริมน้ำได้รู้ถึงคุณค่าทรัพยากรของแม่น้ำลำคลอง สำหรับ “คลีนคลอง” ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ถือเป็นโครงการต้นแบบของชุมชนริมน้ำขยายผลสู่การพัฒนาชุมชนและสร้างจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์สายน้ำแห่งประวัติศาสตร์ ร่วมกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองในช่วงหลังเทศกาลลอยกระทงให้กลับมามีทัศนียภาพสวยงาม และมีสายน้ำ ที่ใสสะอาดเช่นเดิมอย่างยั่งยืน เรียกว่าเป็นโครงการที่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีความตั้งใจให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของงาน “Bangkok River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย” ซึ่งความพิเศษในปีนี้ยังคงขับเคลื่อนกิจกรรมที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับชุมชนได้มีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรมการรณรงค์การลอยกระทงใน “บ่อลอยกระทงรักษ์โลก” กับการลอยกระทงในระบบปิด เพื่อลดจำนวนกระทงในคลอง และได้รับความร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร โครงการ “เก็บกลับ-รีไซเคิล” และพันธมิตรทุกภาคส่วน ส่งเสริมการคัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิลในชุมชน
คุณสุรพล เศวตเศรนี ประธานการจัดงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย เผยว่า “กิจกรรมคลีนคลอง เป็นกิจกรรมที่เราตั้งใจรักษาสภาพแม่น้ำลำคลอง หลังจากงานลอยกระทงภายใต้โครงการ River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ที่จัดไปอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 14-16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในทุกๆปีเมื่อจบจากงานลอยกระทงแล้ว เราจะเชิญกลุ่มมิตรมาคีมารวมพลังกันในการช่วยกันบริหารจัดการขยะ โดยปีนี้เราจัดการปัญหาขยะที่ตัวกระทง คือเราจัดเป็นบ่อลอยกระทงรักษ์โลก ซึ่งเป็นบ่อปิด เห็นได้ชัดและน่าชื่นใจว่าบ่อปิดของเราได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งสามารถช่วยลดขยะในแม่น้ำลำคลองธรรมชาติได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเก็บกระทงเหล่านั้นกลับมารีไซเคิล มีทั้งกระทงเทียนหอม กระทงอินทรีย์ ที่นำมาแยกส่วนต่างๆ เช่น ส่วนที่เป็นหยวกกล้วย ใบกล้วย ดอกไม้ ทั้งหมดเราจะมอบให้กับทาง กทม. เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นปุ๋ยอินทรีย์และนำไปกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ส่วนที่เป็นกระทงเทียนหอม ทางวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร นำไปหล่อเป็นเทียนใหม่ สำหรับขวดน้ำขวดพลาสติก เราส่งต่อให้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) นำเข้าสู่กระบวนการถูกนำไปผลิตเป็นผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก เพื่อแจกตามชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เขตหนาวครับ”
0 Comments