เงินสะพัดกว่า 438 ล้านบาท
ผู้เข้าร่วมงานประทับใจกิจกรรมซอฟต์เพาเวอร์
หนังสือที่ขายดีในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 เรียงลำดับดังนี้
อันดับ 1 การ์ตูน 40%
อันดับ 2 นิยาย 30%
อันดับ 3 จิตวิทยา/ฮีลใจ 20%
และอื่นๆ หนังสือแบบเรียน หนังสือเด็ก หนังสือการลงทุน หนังสือสุขภาพ รวม 10%
“ความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ มาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. การจัดงานภายใต้ธีม “อ่านกันยันโลกหน้า” ที่แปลกใหม่กว่าทุกครั้งที่จัดมา และมีการสื่อสารที่ชัดเจน ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ดึงดูดผู้อ่านและผู้สนใจเข้าร่วมงาน 2. กระแสตอบรับที่ดีโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เข้ามาเลือกซื้อหนังสือและร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีมากกว่า 100 กิจกรรม พร้อมกับการแชร์ผ่านโลกโซเชียล สร้างกระแสในวงกว้าง 3. การปรับตัวของสำนักพิมพ์และผู้ผลิตหนังสือ ที่นำสนองตอบต่อความต้องการของนักอ่านมากขึ้น เห็นได้จากการพัฒนารูปแบบหนังสือ เนื้อหา ทำให้หนังสือมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และดึงดูดให้นักอ่านกลับมาเลือกซื้อต่อเนื่อง โดยพบว่า สำนักพิมพ์ที่เปิดตัวหนังสือปกใหม่ ต่างได้รับความสนใจอย่างมาก ทั้งจากผู้ที่ซื้ออ่านและผู้ที่ซื้อสะสม รวมถึงนักเขียนต่างชาติก็ได้รับความสนใจจากผู้อ่านสูงเช่นกัน”
นายสุวิช กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งความสำเร็จที่เห็นได้ชัดคือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของสำนักพิมพ์ต่างๆ อาทิ การจัดโปรโมชั่นลดกระหน่ำ, แจกไอเทมพรีเมี่ยม การจัดกิจกรรม “หยิบฟรีไม่อั้น บุฟเฟ่ต์เต็มถุงในราคา 199 บาท, 579 บาท และ 699 บาท หนังสือใหม่ ชั่งกิโลขาย ขีดละ 10 บาท ซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เห็นได้จากยอดจองคิวผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งการจองคิวเข้าร่วมซื้อที่หน้าบูธต่างๆ เป็นต้น ถือเป็นแรงดึงดูดให้นักอ่านและผู้สนใจเข้ามาร่วมงานมากขึ้น ซึ่งการจัดงานครั้งนี้พบว่ามียอดการซื้อหนังสือเฉลี่ย 600 บาทต่อคน ขณะเดียวกันพบว่ามีนักอ่านและผู้สนใจจำนวนมากที่มาร่วมงานมากกว่า 1 ครั้ง
“ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ถือว่า สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเริ่มฟื้นตัว ขณะที่หลายคนมองว่าหนังสือไม่ใช่ปัจจัย 4 แต่จากสถานการณ์ครั้งนี้ทำให้เห็นว่า นักอ่านจำนวนมากยังชื่นชอบการอ่านหนังสือ และยังต้องการเลือกซื้อหนังสือเล่มโปรด พร้อมกับมาร่วมกิจกรรมเพื่อได้พบกับนักเขียนคนโปรด และได้รับไอเทมพิเศษภายในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติครั้งที่ 29 นอกจากนี้จากกระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้นยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมหนังสือเมืองไทยที่มีมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้นด้วย และส่งผลให้คนไทยมีสถิติการอ่านที่สูงขึ้น จากงานวิจัยล่าสุด ในปัจจุบันที่พบว่าคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 113 นาทีต่อวัน”
นายก PUBAT กล่าวอีกว่า การที่คนรุ่นใหม่หันกลับมาอ่านหนังสือมากขึ้นถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมหนังสือในประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการอ่านของคนไทยในยุคดิจิทัลที่มีการเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ อย่างไรก็ดีการอ่านหนังสือไม่เพียงแต่เป็นการเสริมสร้างความรู้และทักษะ แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักอ่านกับนักเขียนและสำนักพิมพ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาวงการหนังสือในประเทศไทยให้มีความหลากหลายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดีจากความสำเร็จในครั้งนี้ สมาคมมีแนวคิดในการขยายพื้นที่จัดงานในครั้งต่อไป โดยจะขยายเพิ่มอีก 1 ฮอลล์ หรือประมาณ 5,000 ตร.ม. ส่งผลให้มีพื้นที่จัดงานเพิ่มขึ้นเป็น 25,000 ตร.ม. จากเดิมที่มีอยู่ราว 20,000 ตร.ม. ซึ่งจะทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆ สามารถเข้าร่วมออกบูธได้มากขึ้น และมีหนังสือออกวางจำหน่ายเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น สร้างโอกาสให้ผู้อ่านและผู้สนใจสามารถมาเดินเลือกซื้อหนังสือที่ตัวเองชื่นชอบ และร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น
“ผมเชื่อว่าวันนี้ผู้ที่มาร่วมงานมหกรรมหนังสือฯ ไม่ได้มาเพื่อซื้อหนังสือเท่านั้น แต่ต้องการมาเพื่อสรรหาแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์พร้อมกับความสนุกสนาน ทำให้การจัดงานหนังสือในรูปแบบของเฟสติวัลได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งในการจัดงานหนังสือครั้งต่อไป นักอ่านจะได้พบกับธีมใหม่ๆ ที่เชื่อว่าจะสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนทุกครั้ง รอติดตามการจัดงานครั้งต่อไปได้ในเร็วๆ นี้ครับ”
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เพจ Thai Book Fair
0 Comments